

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียพบว่า โซโฟบัส โมริโอ (Zophobas Morio) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หนอนยักษ์ หรือ ซูเปอร์เวิร์ม (Superworm) สามารถมีชีวิตรอดได้ด้วยการกินโพลิสไตรีน
.
พวกเขาได้ค้นพบว่าเอนไซม์หลายชนิดมีความสามารถในการย่อยสลายโพลิสไตรลีน การวิจัยไม่ได้ทำเพื่อการสร้างฟาร์มหนอนเป็นโรงงานรีไซเคิลแต่อย่างใก พวกเขาเพียงต้องการค้นหาว่าเอนไซม์ตัวไหนที่มีประสิทธิผลในการย่อยสลายดีที่สุด เพื่อที่จะนำเอนไซม์นั้นเพื่อใช้ในการรีไซเคิลจำนวนมาก
.
ศาสตราจารย์ โคลิน แจ็กสัน นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมในการศึกษานี้ กล่าวกับสถานีโทรทัศน์เอบีซีของออสเตรเลียว่า การศึกษาค้นคว้านี้ทำให้เพิ่มความเข้าใจเป็นอย่างมากว่า แบคทีเรียในลำไส้ของหนอนยักษ์ ทำงานอย่างไรในระดับโมเลกุล ศาสตราจารย์แจ็กสัน กล่าวกับสถานีโทรทัศน์เอบีซีของออสเตรเลีย
.
ในระดับนานาชาติ นักวิจัยอีกหลายคนได้การประสบความสำเร็จในการใช้แบคทีเรียและเชื้อราในการย่อยพลาสติกมาแล้ว
.
แต่หากมีคำถามที่ตามมาจากสังคมว่า เทคนิคและความรู้เหล่านี้จะสามารถนำไปใช้ในโรงผลิตขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ และมีราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หรือไม่
.
Cr. BBC Thai