

วิกฤตการอาหารขาดแคลนยืดเยื้อ ทำให้เงินปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงกระทบค่าครองชีพ
.
จากปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกมีตัวเลขลดลง ทำให้ในหลายประเทศประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร โดยข้อมูลล่าสุดมีกว่า 20 ประเทศแล้วที่เริ่มมีการสั่งห้ามส่งออกอาหารบางประเภท
.
เมื่อในหลายประเทศเริ่มสกัดกั้นการส่งออกอาหารทำให้สามารถมองเห็นได้ว่า นี่อาจจะเป็นโอกาสของประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตร และอาหารในการเข้าไปหาโอกาสในตลาดใหม่ๆ แต่ทว่านักวิชาการยังคงกังวลว่า ไทยอาจจะไม่ได้ประโยชน์มากเท่าใดนัก และอาจจะเป็นฝ่ายที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการนี้เอาเสียเอง
.
คุณเกวลิน หวังพิชญสุข รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า หากพิจารณาจากดัชนีอาหารโลก 5 ชนิดของ FAO ประกอบด้วย ธัญพืช น้ำมันประกอบอาหาร ปศุสัตว์ นม และน้ำตาล ในเวลานี้ไทยยังคงมีปริมาณสินค้าอาหารที่เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศ และอาจมีบางประเภทที่เหลือและสามารถส่งออกได้ ทั้งนี้ไทยยังคงไม่ต้องเผชิญกับปัญหาอาหารขาดแคลน เพราะสามารถผลิตอาหารได้หลากหลาย และอาจมีโอกาสที่จะส่งออกจากการที่หลายประเทศห้ามการส่งออกอาหาร
.
ในขณะเดียวกันสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหาร เช่น ปุ๋ย อาหารสัตว์ ก็อยู่ในสัดส่วนที่สูงเช่นกัน หากรัฐสามารถจัดการเรื่องปัจจัยการผลิตอาหารได้ก็จะเป้นการควบคุมต้นทุนการผลิตอาหารได้เป็นอย่างดี และอาจทำให้ไทยได้ประโยชน์มากขึ้นจากวิกฤตการนี้